วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562



การจัดกิจกรรมวันเด็กโดยสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2562
สาขาปฐมวัยและสาขาต่างๆของคณะศึกษาศาสตร์ได้ร่วมกับสาขาพลศึกษาจัดการกรรมต่างๆให้เด็กๆ
ได้มาร่วมสนุกตามเกมส์ ตามฐานต่างๆ


กิจกรรมที่เราช่วยกันคิด
"Bowling By Early"



 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม


1.ขวดน้ำพลาสติกใส่น้ำ 10 ขวด
2.ลูกบอล 1 ลูก




วิธีการเล่นกิจกรรม "Bowling By Early"


1.นำขวดมาเรียง สลับแบบฟันปลา จำนวน 10 ขวด
2.ให้เด็กยืนตามเส้นที่กำหนด
3.ให้โยนบอลให้ขวดล้มจนหมด

ภาพบรรยากาศในการจัดสถานที่




ภาพบรรยากาศในวันจัดกิจกรรม

ประวัติวันเด็กแห่งชาติ


วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเองในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนเองขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนเองไปร่วมงานได้

         ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเองและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก

         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และนายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

         กิจกรรมวันเด็ก ที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้นล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่า บทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็ก ๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็ก ๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ


คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ

          คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สรุปเทคนิคการสอน

เรื่อง ตัวเลขกับเด็กอนุบาล


ช่วงที่ 1

การเรียนกาสอนขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัย

ครูที่นี่จะสอนเด็กเป็นรายบุคคล ครูจะฝึกให้เด็กกล้าตอบคำถาม โดยถามเกี่ยวกับตัวเลขแบบง่ายไม่ซับซ้อน และฝึกใช้ตัวเลขตั้งแต่เนิ่นๆจะมีผลต่อมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ของทั้งโรงเรียน ครูจะปูพื้นฐานคณิตศาสตร์ให้แน่นและจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน

ขั้นตอนการสอน

               คือสร้างความสนใจเรื่องตัวเลข รูปร่างและทำกิจกรรมที่มีเรื่องพวกนี้รวมอยู่ เด็กก็จะเริ่มคุ้นกับตัวเลข และเริ่มการนับ การจัดกิจกรรมขึ้นมา ต้องรู้ว่าอยากให้เด็กได้อะไรจากกิจกรรม แล้วต้องปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำกิจกรรมนั้นด้วย ซึ่งเป็นทักษะของการแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์

ช่วงที่ 2

เพิ่มโอกาสการใช้คณิตศาสตร์ให้มากขึ้น

               ครูนั้นเชื่อว่าต้องมีความสมดุลระหว่ากิจกรรมที่จัวครูนั้นให้เด็กทำ คือให้เด็กได้คิดริเริ่มเอง ส่วนหนึ่งในการเป็นครูต้องรู้ว่าตอนไหนควรจะถอยออกมา แล้วตอนไหนควรเข้าไปช่วยเด็ก พยายามใช้เพลง เพราะเพลงเป็นสื่อในการสอน เด็กสามารถร้องร่วมไปได้และมีท่าประกอบ ซึ่งช่วยการเรียนรู้มีความหลากหลายมากขึ้น เริ่มแรกเน้นสอนตัวเลข การนับ เพราะเด็กไม่แม่นเรื่องนี้ เด็กก็จะไม่อยากเรียนเรื่องการบวกต่อ
               ระหว่าทำกิจกรรม โดยให้ครูคอยช่วยเด็กๆ มากกว่าที่จะนำเด็ก การสอนคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะนอกห้องเรียน ที่บ้าน หรือเวลาว่าง ทำให้เด็กเห็นภาพใหญ่มากขึ้น เด็กได้เห็นคณิตศาสตร์อีกด้านหนึ่งและทำให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้นอีกด้วย
              
ช่วงที่ 3

ติดตามและวางแผนเพื่อดูพัฒนาการ

               ติดตามเด็กเป็นรายบุคคล เพราะจะทำให้รู้ว่าเด็กแต่ละคนไปถึงไหนแล้วและเด็กต้องพัฒนาด้านใดบ้าง แล้วนำไปรายงานกับผู้ปกครอง บอกครูคนอื่นๆ เพื่อประเมิน และหลังจากนั้นกลับไปสู่การวางแผน และเด็กทุกคนจะพัฒนาไปต่อจากนี้นั้นคือเสร็จสมบูรณ์


สรุปบทความ

ทักษะพื้นฐาน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ใน ระดับอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กนั้นต่างจากวัยอื่น ซึ่งคุณครูหรือผู้ปกครองควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร จึงสามารถจัดประเภทได้

การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน

การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว

การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ

รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว

พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ

การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน


การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น

การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ

การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น

เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ

การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก



จากที่กล่าวมา หากเด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้จากการใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม จะส่งผลให้มี ทักษะกระบวนการทางความคิด และพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย Krumam
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
“มีประสบการณ์ทำงานเป็นครูอนุบาลกว่า 10 ปี มีความรู้ความชำนาญในบทบาทหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เชี่ยวชาญทั้งการสอนและพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพและความพร้อมทั้ง 4 ด้าน”

                                            สรุปงานวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมการปั้นกระดาษ


ความมุ่งหมายของการวิจัย

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับมาจากการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษโดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั่นกระดาษ
2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

                                     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดีสำนักงานเขตภาษีเจริญสังกัดกรุงเทพมหานครโดยมีจำนวน 8 ห้องเรียนรวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 216 คน

กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

                                     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดีสำนักงานเขตภาษีเจริญสังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน

ระยะเวลาในการทดลอง

                                     การศึกษาในครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วันๆละ 1 ครั้งๆละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

                                         1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2. 1 การรู้ค่าจำนวน
2.2 การเปรียบเทียบ
2. 3 การเรียงลำดับ
2. 4 การจัดหมวดหมู่

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั่นกระดาษ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั่นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
2. ผลการศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
                     2. 1 เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองทั้งโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรม การปั้นกระดาษเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์คือ การรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ระดับสูง
                     2. 2 การจัดกิจกรรมการปันกระดาษทำให้เด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 61. 59 ของความสามารถพื้นฐานเดิม โดยมีทักษะด้านการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับแรกรองลงมาคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการรู้ค่าจำนวน ตามลำดับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562



ตัวอย่างสื่อการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

สอนนับเลข จากกิ่งไม้


จุดมุ่งหมาย


               1.ให้เด็กรู้จักการนับเลข
               2.ส่งเสริมการพัฒนาด้านสติปัญญา
               3.ส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
               4.ส่งเสริมค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง

อุปกรณ์

1.กิ่งไม้
2.ยางรัด
3.กระดาษ
4.สีเมจิก







วิธีเล่น

              1.แนะนำสื่อ
2.สอนเด็กนับเลขจากกิ่งไม้
3.ให้นับรวม 10 แล้วรัดด้วยยางรัด
4.จากนั้นตั้งคำถาม เช่น 12 ใช้กิ่งไม้กี่อัน หรือ เลข 12 ให้นับจำนวนกิ่งไม้เท่ากับ 12

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562


วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 13


วันนี้เป็นวันเรียนวันสุดท้ายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้พูดถึงการทำบล็อกในต้นชั่วโมงเรียน และพูดคุยกับนักศึกษา จากนั้นพูดอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเดี่ยวกรอบมาตรฐานในสัปดาห์ที่เรียนไป การใช้จำนวนในชีวิตจริง การนับ เช่น นับเสื้อผ้า นับคน จำนวนคือการนับและบอกจำนวน ความหลากหลายของจำนวน การนับบอกจำนวนของสิ่งของ และมีการเพิ่มขึ้น 1 2 3 4 5 และมีการเพิ่มขึ้นทีละ 2 4 6 8 การนับเพิ่มขึ้น ตามลำดับ การใช้สัญลักษณ์เลขฮินดูอารบิก

สัญลักษณ์พื้นฐาน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 คือเลขโดด อยู่ในฐาน 10  แต่ 0 ไม่ใช่เลขโดดและไม่ได้อยู่ในจำนวนนับ

ภาพตัวอย่างการสอนการเปรียบเทียบ

 การเปรียบเทียบของเด็ก

เด็กต้องนับและบอกจำนวนได้ สะท้อนการเรียนรู้ เด็กต้องมีการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้การเปรียบเทียบไปด้วย เด็กเล็ก เริ่มจากการมีโอกาสจับคู่ 1 ต่อ 1 ทำให้เด็กเห็นภาพ ถ้าสิ่งไหนหมดก่อน ก็แสดงว่า สิ่งนั้นน้อยกว่า และสิ่งใดยังเหลือสิ่งนั้นมากกว่า เพราะฉะนั้นต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยของจริง พอโตแล้ว คุ้นแล้วจาก 1 ต่อ 1 อาจจะลองจับคู่ 5 ต่อ 5 ตามลำดับไปเรื่อยๆ จากนั้นเริ่มใช้เกณฑ์เพื่อพัฒนาสิปัญญาของเด็ก เมื่อเด็กเรียนรู้ความเข้าใจของการกระทำเช่นนี้ ก็จะขึ้นสัญลักษณ์และเชื่อมโยงได้ แต่ก่อนจะเชื่อมโยงได้ต้องผ่านขั้นอนุรักษ์

ขั้นอนุรักษ์

คือ เด็กสามารถใช้เหตุผลได้ โดยให้เห็นจากของจริง แต่ถ้ายังไม่ผ่านต้องให้เด็กเห็นของจริง เล่นผ่านของจริงก่อน ไม่เช่นนั้นเด็กจะตอบตามที่ตาเห็น และจะซึมซับ ปรับโครงสร้าง เพราะ คณิตศาสตร์คือเครื่องมือในชีวิตประจำวัน

สาระที่ควรเรียนรู้

                 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

               2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

               3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

               4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก จากนั้นอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องและวิธีลำดับขั้นตอนการแตกเนื้อหา

 จากนั้นอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องและวิธีลำดับขั้นตอนการแตกเนื้อหา

เรื่อง ไข่

ภาพตัวอย่างการสอนเขียนของอาจารย์

หัวข้อใหญ่ ไข่
หัวข้อรอง 1.ชื่อ
                              -ไข่ไก่
                              -ไข่เป็ด
                              -ไข่เต่า
                              -ไข่นกกระทา
                              -ไข่จิ้งจก

                  2.ลักษณะ
                              -สี (ครีม / ดำ / ขาว)
                              -รูปทรง (ทรงรี ทรงกลม)
                              -ขนาด (ใหญ่ / กลาง / เล็ก / จิ๋ว)
                              -ผิว (เรียบ / ขรุขระ)

                  3.การดำรงชีวิต
                              -อาหาร (น้ำ / แมลง / ปลายข้าว / รำข้าว)
                              -ที่อยู่อาศัย (เล้าไก่ / สุ่มไก่)
                              -อากาศ

                 4.ประโยชน์
                              -ทำอาหาร
                              -สร้างรายได้ (ฟาร์มไก่ / ขายไข่ไก่)
                              -แปรรูป (ไข่เยี่ยวม้า / ไข่เค็ม)

เมื่ออาจารย์อธิบายงานเสร็จพร้อมตัวอย่างของอาจารย์ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาลองทำพร้อมกำหนดหัวข้อให้นักศึกษา เรื่อง นก เหมือนกันทั้งห้อง

เรื่อง นก

ภาพผลงานของฉัน

เมื่อนักศึกษาทำเสร็จ อาจารย์อธิบายและแนะนำการทำเพิ่มเติมและพูดเชื่อมโยงเข้ากับการสอนเด็กในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย

ภาพตัวอย่างการอธิบายแผ่นผับ

ท้ายชั่วโมงได้มอบหมายงานสุดท้ายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์กำหนดการส่งบล็อก ส่งงาน และให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนในสัปดาห์นั้นๆ พร้อมวิธีขอความช่วยเหลือในกิจกรรมจากผู้ปกครอง โดยการให้ออกแบบแผ่นพับ และส่งงานโดยการถ่ายรูปแผ่นพับลงบล็อกใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นอันเสร็จสิ้น

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน







จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบาย และให้นักศึกษากลับไปทำแผ่นพับเป็นการบ้าน ส่งใน Blogger

ภาพผลงานฉัน



คำศัพท์

               Name                   ชื่อ
               Nature                  ลักษณะ
               Living                  การดำรงชีวิต
               Benefit                 ประโยชน์
               Wildlife               ธรรมชาติ

สิ่งที่ได้รับ

                1.ได้รับคำแนะนำในการสรุปงาน
                2.ได้รับความรู้หรือเนื้อหาเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัยอย่างละเอียด
                3.ฝึกการคิดในการตั้งเกณฑ์คำถามเด็ก
                4.ฝึกการเขียนการแตกเนื้อหาตามลำดับ
                5.ได้รับคำแนะนำไปปรับแก้ไขงานอย่างเหมาะสม

การประเมิน

อาจารย์ มีความห่วงใยนักศึกษา บอกความรู้อย่างเต็มที่ อธิบายขั้นตอนการทำสื่ออย่างละเอียดและงานอื่นๆ ตั้งแต่ชั่วโมงแรกจนชั่วโมงเรียนสุดท้ายของการเรียน
ตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์ มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย    
เพื่อน เพื่อนๆสนใจการเรียน ตั้งใจทำงาน ร่วมตอบคำถามอาจารย์เป็นอย่างดี






BYE BYE ปี 2 เทอม 2 แล้วเจอกันปี 3 นะคะ เย้เย้

❤❤ ❤❤ ❤❤ ❤❤ ❤❤