วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562


วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 13


วันนี้เป็นวันเรียนวันสุดท้ายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้พูดถึงการทำบล็อกในต้นชั่วโมงเรียน และพูดคุยกับนักศึกษา จากนั้นพูดอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเดี่ยวกรอบมาตรฐานในสัปดาห์ที่เรียนไป การใช้จำนวนในชีวิตจริง การนับ เช่น นับเสื้อผ้า นับคน จำนวนคือการนับและบอกจำนวน ความหลากหลายของจำนวน การนับบอกจำนวนของสิ่งของ และมีการเพิ่มขึ้น 1 2 3 4 5 และมีการเพิ่มขึ้นทีละ 2 4 6 8 การนับเพิ่มขึ้น ตามลำดับ การใช้สัญลักษณ์เลขฮินดูอารบิก

สัญลักษณ์พื้นฐาน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 คือเลขโดด อยู่ในฐาน 10  แต่ 0 ไม่ใช่เลขโดดและไม่ได้อยู่ในจำนวนนับ

ภาพตัวอย่างการสอนการเปรียบเทียบ

 การเปรียบเทียบของเด็ก

เด็กต้องนับและบอกจำนวนได้ สะท้อนการเรียนรู้ เด็กต้องมีการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้การเปรียบเทียบไปด้วย เด็กเล็ก เริ่มจากการมีโอกาสจับคู่ 1 ต่อ 1 ทำให้เด็กเห็นภาพ ถ้าสิ่งไหนหมดก่อน ก็แสดงว่า สิ่งนั้นน้อยกว่า และสิ่งใดยังเหลือสิ่งนั้นมากกว่า เพราะฉะนั้นต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยของจริง พอโตแล้ว คุ้นแล้วจาก 1 ต่อ 1 อาจจะลองจับคู่ 5 ต่อ 5 ตามลำดับไปเรื่อยๆ จากนั้นเริ่มใช้เกณฑ์เพื่อพัฒนาสิปัญญาของเด็ก เมื่อเด็กเรียนรู้ความเข้าใจของการกระทำเช่นนี้ ก็จะขึ้นสัญลักษณ์และเชื่อมโยงได้ แต่ก่อนจะเชื่อมโยงได้ต้องผ่านขั้นอนุรักษ์

ขั้นอนุรักษ์

คือ เด็กสามารถใช้เหตุผลได้ โดยให้เห็นจากของจริง แต่ถ้ายังไม่ผ่านต้องให้เด็กเห็นของจริง เล่นผ่านของจริงก่อน ไม่เช่นนั้นเด็กจะตอบตามที่ตาเห็น และจะซึมซับ ปรับโครงสร้าง เพราะ คณิตศาสตร์คือเครื่องมือในชีวิตประจำวัน

สาระที่ควรเรียนรู้

                 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

               2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

               3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

               4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก จากนั้นอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องและวิธีลำดับขั้นตอนการแตกเนื้อหา

 จากนั้นอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องและวิธีลำดับขั้นตอนการแตกเนื้อหา

เรื่อง ไข่

ภาพตัวอย่างการสอนเขียนของอาจารย์

หัวข้อใหญ่ ไข่
หัวข้อรอง 1.ชื่อ
                              -ไข่ไก่
                              -ไข่เป็ด
                              -ไข่เต่า
                              -ไข่นกกระทา
                              -ไข่จิ้งจก

                  2.ลักษณะ
                              -สี (ครีม / ดำ / ขาว)
                              -รูปทรง (ทรงรี ทรงกลม)
                              -ขนาด (ใหญ่ / กลาง / เล็ก / จิ๋ว)
                              -ผิว (เรียบ / ขรุขระ)

                  3.การดำรงชีวิต
                              -อาหาร (น้ำ / แมลง / ปลายข้าว / รำข้าว)
                              -ที่อยู่อาศัย (เล้าไก่ / สุ่มไก่)
                              -อากาศ

                 4.ประโยชน์
                              -ทำอาหาร
                              -สร้างรายได้ (ฟาร์มไก่ / ขายไข่ไก่)
                              -แปรรูป (ไข่เยี่ยวม้า / ไข่เค็ม)

เมื่ออาจารย์อธิบายงานเสร็จพร้อมตัวอย่างของอาจารย์ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาลองทำพร้อมกำหนดหัวข้อให้นักศึกษา เรื่อง นก เหมือนกันทั้งห้อง

เรื่อง นก

ภาพผลงานของฉัน

เมื่อนักศึกษาทำเสร็จ อาจารย์อธิบายและแนะนำการทำเพิ่มเติมและพูดเชื่อมโยงเข้ากับการสอนเด็กในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย

ภาพตัวอย่างการอธิบายแผ่นผับ

ท้ายชั่วโมงได้มอบหมายงานสุดท้ายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์กำหนดการส่งบล็อก ส่งงาน และให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนในสัปดาห์นั้นๆ พร้อมวิธีขอความช่วยเหลือในกิจกรรมจากผู้ปกครอง โดยการให้ออกแบบแผ่นพับ และส่งงานโดยการถ่ายรูปแผ่นพับลงบล็อกใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นอันเสร็จสิ้น

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน







จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบาย และให้นักศึกษากลับไปทำแผ่นพับเป็นการบ้าน ส่งใน Blogger

ภาพผลงานฉัน



คำศัพท์

               Name                   ชื่อ
               Nature                  ลักษณะ
               Living                  การดำรงชีวิต
               Benefit                 ประโยชน์
               Wildlife               ธรรมชาติ

สิ่งที่ได้รับ

                1.ได้รับคำแนะนำในการสรุปงาน
                2.ได้รับความรู้หรือเนื้อหาเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัยอย่างละเอียด
                3.ฝึกการคิดในการตั้งเกณฑ์คำถามเด็ก
                4.ฝึกการเขียนการแตกเนื้อหาตามลำดับ
                5.ได้รับคำแนะนำไปปรับแก้ไขงานอย่างเหมาะสม

การประเมิน

อาจารย์ มีความห่วงใยนักศึกษา บอกความรู้อย่างเต็มที่ อธิบายขั้นตอนการทำสื่ออย่างละเอียดและงานอื่นๆ ตั้งแต่ชั่วโมงแรกจนชั่วโมงเรียนสุดท้ายของการเรียน
ตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์ มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย    
เพื่อน เพื่อนๆสนใจการเรียน ตั้งใจทำงาน ร่วมตอบคำถามอาจารย์เป็นอย่างดี






BYE BYE ปี 2 เทอม 2 แล้วเจอกันปี 3 นะคะ เย้เย้

❤❤ ❤❤ ❤❤ ❤❤ ❤❤

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น