สรุปงานวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมการปั้นกระดาษ
ความมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับมาจากการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษโดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ
ดังนี้
1.
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั่นกระดาษ
2.
เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย
– หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนวัดนิมมานรดีสำนักงานเขตภาษีเจริญสังกัดกรุงเทพมหานครโดยมีจำนวน 8
ห้องเรียนรวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 216 คน
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย
– หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนวัดนิมมานรดีสำนักงานเขตภาษีเจริญสังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่
2 มา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน
ระยะเวลาในการทดลอง
การศึกษาในครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2555 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วันๆละ 1 ครั้งๆละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่
การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2. 1 การรู้ค่าจำนวน
2.2 การเปรียบเทียบ
2. 3 การเรียงลำดับ
2. 4 การจัดหมวดหมู่
สรุปผลการวิจัย
1.
ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั่นกระดาษ
สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั่นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
2.
ผลการศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
2. 1
เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองทั้งโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง
หลังการจัดกิจกรรม การปั้นกระดาษเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์คือ การรู้ค่าจำนวน
การเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ระดับสูง
2. 2
การจัดกิจกรรมการปันกระดาษทำให้เด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ
61. 59 ของความสามารถพื้นฐานเดิม โดยมีทักษะด้านการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับแรกรองลงมาคือ
ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการรู้ค่าจำนวน ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น