เวลาเรียน
08.30-12.30 น.
วิชา
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203
ผู้สอน
อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 3
อาจารย์มีกิจกรรม
มาให้นักศึกษา 2 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ปั้นดินน้ำมัน
นั่งเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มหลังจากนั้นอาจารย์มีดินน้ำมันให้ลองปั้น
จับ และได้อธิบายสอดคล้องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือวิธีการของเด็กที่จะเก็บข้อมูลแล้วส่งไปที่สมอง
จากนั้นสมองคล้ายๆกับฟองน้ำ จะซึมซับ ให้นึกถึงกระดาษมีน้ำที่หยดสี
และสีก็จะกระจาย และหยดอีก ได้ประสบการณ์อีกและบางอันไปเชื่อมต่อกัน มีความสอดคล้องก็จะเกิด
องค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นความรู้ใหม่ เด็กเก็บไว้ นั้นก็คือเด็กแค่รับรู้ ถ้าเกิดเด็กเอาความรู้นั้นมาใช้
เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จึงเรียกว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ หรือดูจากพฤติกรรมเด็กถ้าเด็กเกิดการเรียนรู้ก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แต่ถ้าเด็กมีความรู้ แต่ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เด็กก็แค่รับรู้
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน
ภาพผลงานฉัน
แต่ละคนสามารถขอดินน้ำมันจากเพื่อนมาตกแต่งผลไม้ที่ตัวเองปั้นให้ออกมาสวยงามและอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาเอาผลไม้ออกมาวางไว้บนโต๊ะหน้าห้อง
เรียงกัน เป็นแนวนอน และให้นักศึกษาช่วยกันวิเคราะห์ จากการปั้นดินน้ำมัน ว่า
เป็นรูปทรงได้ ดูได้กี่มิติ และหาเกณฑ์ตั้งคำถามให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
พร้อมสอนการบวก ลบ แยก แบบง่ายๆไปสอนเด็กได้อีกด้วย
ภาพผลงานเพื่อนๆ
กิจกรรมที่ 2 ตารางกระดาษ
อาจารย์ได้ให้จับคู่ และให้กระดาษมากลุ่มละ
1 แผ่น โดยอาจารย์ ได้ให้นักศึกษาวาดตาราง
10x10 หรือ 100 ช่อง ความกว้าง
ของตาราง 2 นิ้ว ให้กระดาษมาอีก
ให้ตัดอีก ความกว้างของช่อง 1.5 นิ้ว ตัดออกมาให้ได้ จำนวน 100 ชิ้น
นำกระดาษที่เหลือ มาทำเป็น 3 ช่อง 2
แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออก จำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมา
ใช้สีขีดเพื่อให้เห็นความชัดของเส้น กระดาษแผ่นแรกเขียนว่า หลักหน่วย และหลักสิบ
ลงในช่อง
นำกระดาษแผ่นเล็ก ที่ทำไว้
มาติดกับแผ่นตารางที่ได้ทำไว้ตั้งแต่แรก โดยติมุมด้านซ้าย
และติดเทปกาวไว้ด้านหลังกระดาษตาราง
อาจารย์ได้อธิบายถึงเด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยไม่รู้ตัว
โดยตารางกิจกรรมนี้สอนให้เด็กเกิดการแตก การแยก จากกิจวัตรประจำวันที่เด็กสามารถเรียนรู้
เลขฐาน 10 แถวนึงมี 10 ช่องเรียก 1 ชุด ให้เด็กวางตัวเลขลงบนช่อง
ตัวอย่าง
1.วันที่เด็กมาโรงเรียน
สมมติ
10 วัน เท่ากับ 1 ชุด
2.วันที่
สมมติ วันที่ 30 เท่ากับ 3
ชุด
สิ่งที่ได้รับ
1.เข้าใจวิธีการรับรู้ของเด็กจากเดิมมากขึ้น
2.มีความคิดการตั้งเกณฑ์คำถามใหม่ๆเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น
3.เรียนรู้วิธีการทำสื่อการสอนเพิ่มมากขึ้น
คำศัพท์
Assimilation การซึมซับ
Accommodation การปรับโครงสร้าง
Group Work งานกลุ่ม
Activities กิจกรรม
Dimension
มิติสัมพันธ์
Clay
ดินน้ำมัน
Doing
ลงมือทำ
การประเมิน
อาจารย์ อาจารย์อธิบายให้ความรู้กับนักศึกษาได้ดีมาก ละเอียด
ค่อยๆสอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องนั้นจริงๆไม่ละเลยหน้าที่
ตนเอง พยายามทำความเข้าใจกับบทเรียน
ฟังอาจารย์ และให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมอย่างเต็มที่
เพื่อน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง บางครั้งอาจพูดหรือมีกริยาที่ไม่เหมาะไปบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น