การจัดกิจกรรมวันเด็กโดยสาขาวิชาพลศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2562
สาขาปฐมวัยและสาขาต่างๆของคณะศึกษาศาสตร์ได้ร่วมกับสาขาพลศึกษาจัดการกรรมต่างๆให้เด็กๆ
ได้มาร่วมสนุกตามเกมส์ ตามฐานต่างๆ
กิจกรรมที่เราช่วยกันคิด
"Bowling By Early"
1.ขวดน้ำพลาสติกใส่น้ำ
10 ขวด
2.ลูกบอล
1 ลูก
วิธีการเล่นกิจกรรม
"Bowling
By Early"
1.นำขวดมาเรียง
สลับแบบฟันปลา จำนวน 10 ขวด
2.ให้เด็กยืนตามเส้นที่กำหนด
3.ให้โยนบอลให้ขวดล้มจนหมด
ภาพบรรยากาศในการจัดสถานที่
ภาพบรรยากาศในวันจัดกิจกรรม
ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว
และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม
กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ
ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก
รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเองในประเทศ
โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง
ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ
จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนเองขึ้น
โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี
เป็นวันเด็กแห่งชาติ
สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี
ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า
ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ
รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง
ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน
ได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย
ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อย่างไรก็ตาม
งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498
จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506
ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า
สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า
เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ
ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง
จึงไม่สามารถพาเด็กของตนเองไปร่วมงานได้
ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า
ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า
ตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507
ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ
เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก
และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเองและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี
และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม
และนายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก
แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ
เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด
ชาติเจริญ"
กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ
กิจกรรมวันเด็ก ที่หน่วยงานต่าง ๆ
จัดขึ้นล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่า
บทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน
หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย
มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็ก ๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย
เปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็ก ๆ
จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ
คำขวัญวันเด็ก
เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี
โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก
จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ
(ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา
จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น